ตราประจำจังหวัด
“รูปช้างในท้องน้ำ” หมายถึง
การฝึกช้างป่าให้รู้จักการบังคับบัญชาในการรบและงานด้านต่าง ๆ
สาเหตุที่ใช้รูปช้างในท้องน้ำเป็นตราประจำจังหวัดนั้นก็เพราะเป็นที่มาของการตั้งเมืองแม่ฮ่องสอน
โดยเริ่มจากการที่เจ้าแก้วเมืองมาออกจับช้างให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2368-2389)
และได้รวบรวมชายไทยใหญ่ให้มาตั้งบ้านเมืองเป็นหลักแหล่งขึ้น 2
แห่ง มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครอง คือ ที่บ้านปางหมู และบ้านแม่ฮ่องสอน
สาเหตุที่เรียกว่าแม่ฮ่องสอนก็เพราะว่าได้มาตั้งคอกฝึกช้าง ณ
บริเวณลำห้วยแห่งนี้นั่นเอง
พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia brandisiana Kurz
วงศ์ : LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
ชื่ออื่น : จั่น ปี๊จั่น
ไม้ต้น : ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8 - 20 เมตร เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป
ใบ : ประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7 - 21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1 - 3 เซนติเมตร ยาว 3 - 7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบบาง
ดอก : รูปออกถั่ว สีขาวปนม่วง ออกตามกิ่งและง่ามใบ
ผล : เป็นฝักแบน โคนแคบกว่าปลาย กว้าง 2 - 2.5 เซนติเมตร ยาว 9 - 12 เซนติเมตร เปลือกเกลี้ยงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบเป็นสัน เมล็ดสีน้ำตาลดำ 1 - 4 เมล็ด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น