วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประเพณี

งานประเพณีปอยส่างลอง (งานบวชลูกแก้ว)

         เป็นประเพณีบวชสามเณรตามธรมมเนียมของชาวไทยใหญ่ เพื่อให้ลูกหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และมีความเชื่อว่าจะได้รับบุญกุศลจากการบวชสามเณร งานนี้จัดให้มีขึ้นช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ช่วงปิดเทอมฤดูร้อน โดยชาวบ้านจะตกลงกันกำหนดวันนัดหมายให้ลูกหลานได้บวชเรียนพร้อมๆ กัน มีการประดับประดาผู้ที่จะบวชด้วยเครื่องประดับมีค่าอย่างสวยงาม และประกอบพิธีบวชตามวัดที่เจ้าภาพเป็นศรัทธา








งานประเพณีจองพารา (งานปอยเหลินสิบเอ็ด)


           คือประเพณีส่วนหนึ่งในงานเทศกาลออกพรรษา จัดขึ้นทุกปี ประมาณ วันที่ 21 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน ประเพณีนี้ถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับชาวแม่ฮ่องสอน เมื่อเข้าเดือน 11 ระหว่างขึ้น 13 ถึง 14 ค่ำ จะมีงานตลาดนัดขายของกันทั้งวันทั้งคืน ประชาชนจะไปจับจ่ายซื้ออาหารและสิ่งของต่างๆ สำหรับไปทำบุญที่วัด ในวันขึ้น 15 ค่ำ พอรุ่งเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ จะมีการตักบาตรเทโวจากวัดพระธาตุดอยกองมูซึ่งตั้งอยู่บนยอดดอยกองมูลงมาสู่วัดม่วยต่อซึ่งอยู่บริเวณเชิงเขา ทิวแถวของพระภิกษุ สามเณร และประชาชนนับร้อยนับพัน จะเรียงรายอยู่สองข้างทางเดินลงจากวัดพระธาตุดอยกองมู ตกตอนกลางคืนตามบ้านเรือนและวัดวาอารามต่าง ๆ จะมีการจุดประทีปแห่ง "จองพารา" หรือ "ปราสาทรับเสด็จพระพุทธเจ้า" ซึ่งตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามนอกจากนี้ยังมีการแสดงการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพต่างๆ และ "หลู่เตนเหง" หรือการแห่เทียนพันเล่มด้วย







วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อาหารที่ขึ้นชื่อ


น้ำพริกอ่อง

     วิธีทำน้ำพริกอ่อง

1. เตรียมเครื่องผัดโดยการนำพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม เกลือ กะปิ ลงโขลกในครกให้ละเอียด หรือคุณแม่บ้านสมัยใหม่ใช้เครื่องปั่นก็ไม่ว่ากันค่ะ

2. ตั้งกระทะไฟกลางใส่น้ำมันลงผัดพอร้อนใส่เครื่องที่เราโขลกเตรียมไว้ลงผัด เติมหมูสับ มะเขือเทศซอย น้ำซุป ผัดให้ง่วนพอเป็นน้ำขลุกขลิก ปรุงรสเพิ่มด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ชิมรสตามชอบ





แกงฮังเล

     วิธีทำทีละขั้นตอน

1. นำส่วนผสมเครื่องแกงฮังเลนำมาโขลกให้เข้ากันจนละเอียดดี
2. ตั้งกระทะบนไฟร้อนปานกลาง นำเครื่องแกงลงไปผัดกับหมูจนเข้ากันดี
3. เติมน้ำเปล่า, กระเทียมดองและขิงหั่นฝอย เทส่วนผสมทั้งหมดลงไปในหม้อ จากนั้นเคี่ยวด้วยไฟอ่อนอย่างน้อย 60นาที เมื่อหมูเปื่อยนุ่มดีแล้วจึงปรุงรสด้วย น้ำตาลทราย, น้ำกระเทียมดองและน้ำมาขามเปียก คนให้เข้ากัน จึงปิดไฟ
4. ตักใส่ชามโรยหน้าด้วยขิงหั่นฝอย เสริฟทันทีพร้อมข้าวสวยร้อน




ข้าวซอยตัด


สถานที่ท่องเที่ยว

วัดพระธาตุดอยกองมู



                  ตั้งอยู่บนดอยกองมูทางทิศตะวันตกของตัวเมืองแม่ฮ่องสอน เดิมชื่อ "วัดปลายดอย" เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญ ประกอบไปด้วยพระธาตุเจดีย์ทรงเครื่องแบบมอญ 2 องค์ และวิหารพระศิลปะไทใหญ่ เจดีย์องค์พี่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2403 โดยจองต่องสู่ พ่อค้าชาวไต ภายในบรรจุพระธาตุของพระมหาโมคคัลลานะเถระ ซึ่งอัญเชิญมาจากพม่า ส่วนองค์น้องสร้างโดยพญาสิงหนาทราชา เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนท่านแรก ฐานเจดีย์ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวันเกิดปางต่าง ๆ เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนมาช้านาน นอกจากกราบขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลแล้ว ยังสามารถชมวิวตัวเมืองแม่ฮ่องสอนในมุมสูงที่สุด นับว่าเป็นภาพที่สวยงดงามมากเลยทีเดียว    

   

ปางอุ๋ง






             ได้รับสมญาว่า "สวิตเซอร์แลนด์แดนสามหมอก"  นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งถ้าไม่มาถือว่ามาไม่ถึงแม่ฮ่องสอนเลยเชียวนะ "ปางอุ๋ง" ชื่อเต็ม ๆ ว่า โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)โครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระราชินี ตั้งอยู่บนเนินเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,200 เมตร ณ บ้านรวมไทย ภายใต้การดูแลของสำนักบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ 16 (แม่สะเรียง) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

              เดิมทีเคยเป็นสถานที่ปลูกฝิ่นของชาวเขา ต่อมาได้รับการพัฒนาตามทฤษฎีสวนแบบปางอุ๋ง จนกลายมาเป็น "สวรรค์บนดิน" อันอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชสมุนไพร พันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวหลากหลายสีสัน ตลอดจนดงสนสองใบที่เติบโตเรียงรายตลอดแนวอ่างเก็บน้ำปางตอง ที่ถือเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมเก็บภาพประทับใจ ยิ่งในยามที่แสงอาทิตย์สาดส่องผ่านทิวสนลงมาเป็นลำ ๆ จะช่วยเพิ่มความงดงามและความโรแมนติกมากยิ่งขึ้นสมชื่อสวรรค์บนดินเสียจริง ๆ จึงไม่แปลกใจที่ถูกนำไปเป็นฉากประทับใจในหนังหลาย ๆ เรื่อง สภาพอากาศก็เย็นสบายตลอดทั้งปี ยิ่งโดยเฉพาะในฤดูหนาวนักท่องเที่ยวจะหลั่งไหลเข้ามาเก็บบรรยากาศความโรแมนติกและดื่มด่ำกับธรรมชาติอันสวยงามที่มีไอหมอกลอยอยู่เหนือทะเลสาบกันแห่งนี้กันอย่างมีความสุข

บ้านรักไทย






            บ้านบรรยากาศสุดอบอุ่น เดิมชื่อ "บ้านแม่ออ" ชุมชนชาวจีนยูนนาน ลูกหลานทหารกองพล 93 ที่เดินทางมากจากตอนใต้ของจีนเมื่อหลาย 10 ปี ก่อน ปัจจุบันอาศัยอยู่ร่วมกันกับพี่น้องชาวไทใหญ่และชาวไทยภูเขาเผ่าอื่น ๆ โดยบรรยากาศภายในจะมีอ่างน้ำขนาดใหญ่ใจกลางหมู่บ้าน และถูกรายล้อมไปด้วยบ้านดินชั้นเดียวมุงหลังคาด้วยใบตองสไตล์จีนที่ถูกดัดแปลงนำมาเป็นร้านค้าขายของที่ระลึก บางหลังก็ดัดแปลงเป็นร้านอาหาร ที่พักไว้บริการนักท่องเที่ยว นอกจากนั้นยังได้ชมทิวทัศน์ของทิวเขาที่งดงาม ตลอดจนเพลินตาไปกับไร่ชาแบบขั้นบันไดไล่ระดับประทับใจยิ่งนัก พร้อมพักทานอาหารตำรับจีนยูนนานจานเด็ด อาทิ ขาหมู-หมั่นโถว หมูพันปี ไก่ตุ๋นยาจีน ยำใบชาสด ชาอู่หลง ชาเจียวกู่หลัน ชายอดน้ำค้าง ชาดอกเหมย และของอร่อยอีกมากมาย รับรองว่ามาแล้วจะติดใจ

ที่อยู่ : หมู่ที่ 6 ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ภูชี้เพ้อ







               ภูชี้เพ้อตั้งอยู่ในหน่วยจัดการต้นน้ำแม่หยอด อำเภอขุนยวม ใกล้กับทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอ ในระดับความสูง 1818 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือเป็นจุดชมวิวแห่งใหม่ที่พึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวเมื่อไม่นานมานี้ มีความน่าสนใจตรงที่เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์และไอหมอกที่งดงามอีกแห่ง ตลอดจนมีทิวทัศน์ของขุนเขาอันสลับซับซ้อนที่สวยงาม ยิ่งเฉพาะในช่วงเวลาที่ดอกบัวตองบานคุณจะมองเห็นวิวทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอในมุมสูงที่บานเหลืองอร่ามทั่วดอย ช่างเป็นวิวที่ได้อารมณ์โรแมนติกมาก ๆ อย่างไรก็ตามบนหน่วยจัดการต้นน้ำแม่หยอดมีบ้านพักแต่ยังไม่ได้เปิดอย่างเป็นทางการ มีจุดกางเต็นท์แต่ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่นัก แนะนำให้พักตามที่พักหรือกางเต็นท์บริเวณทุ่งดอกบัวตองหรือในตัวอำเภอขุนยวมจะดีกว่า และอยากแนะนำอีกว่าให้เดินทางมาด้วยรถกระบะจะสะดวกกว่ารถเก๋งเพราะเส้นทางบางช่วงมีความลาดชันไม่สามารถขึ้นไปได้

 ที่อยู่ : หน่วยจัดการต้นน้ำแม่หยอด อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง













                      ตั้งอยู่บนเทือกเขาถนนธงชัย มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจุดชมวิวบริเวณห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม) ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก อีกทั้งยังสามารถมองเห็นดอยเชียงดาว และคอยชมพระอาทิตย์ขึ้นและชมทะเลหมอกในช่วงเช้าตรู่ได้ ซึ่งทะเลหมอกที่ห้วยน้ำดังแห่งนี้ขึ้นชื่อว่ามีความสวยงดงามมาก จนได้รับการโหวตให้เป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย นอกจากนี้ในช่วงปลายฤดูหนาวคุณจะได้พบกับดอกไม้ที่กำลังจะเบ่งบานนับว่าเป็นภาพที่สวยงดงามไม่สามารถหาที่ใดเปรียบได้ มากกว่านั้นอยากแนะนำให้แวะ พระตำหนักเอื้องเงิน ชมไม้เมืองหนาวหลากสีสัน หรือจะไป ดอยช้าง เพื่อดื่มด่ำไปกับวิวทิวทัศน์ พร้อมสูดอากาศบริสุทธิ์ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และไป น้ำตกห้วยน้ำดัง น้ำตกแม่เย็น ให้ชุ่มฉ่ำปอดก่อนกลับบ้านกันด้วย

 ที่อยู่ : หมู่ที่ 5 ตำบลกึ๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่  50150

ดอยพุ่ยโค




                       "ดอยพุ่ยโค" หรือ "ดอยพุย" (ภาษาท้องถิ่นของชาวกระเหรี่ยง) ตั้งอยู่ที่ระดับความสูงที่ 1406 เมตร จากระดับน้ำทะเล  ห่างจากที่ว่าการอำเภอสบเมย ประมาณ 10 กิโลเมตร ดอยพุ่ยโคขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งทุ่งหญ้าสีทอง มีวิวทิวทัศน์งดงามเหนือคำบรรยาย ผสานกับความอลังการของทะเลหมอกเกือบ 360 องศา ที่นี่สามารถชมได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกดิน ในยามค่ำคืนจะมองเห็นดวงดาวสว่างไสวกระจัดกระจายเต็มท้องฟ้า สามารถเดินเท้าขึ้นมาได้ไม่ไกล ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร โดยจะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ก็จะถึงยอดดอย ทั้งนี้อาจจะมีบางช่วงที่เป็นทางชัน แต่ถือว่าไม่ยากสำหรับนักเดินตัวยง ขึ้นไปแล้วจะหายเหนื่อยเพราะจะได้พบกับความสวยงามของทิวทัศน์ที่อยู่เบื้องหน้า ขุนเขาที่เรียงตัวสลับโทนสี จนลืมระยะทางที่เดินขึ้นมาเลยล่ะจะบอกให้ หากต้องการชมทุ่งหญ้าสีทองแนะนำให้มาช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์

 ที่อยู่ : บ้านอุมดาเหนือ ตำบลแม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน


ข้อมูลสภาพภูมิอากาศจังหวัดแม่ฮ่องสอน





        สภาพภูมิอากาศของจังหวัดแม่ฮ่องสอนจัดอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อนจัด มีอุณหภูมิรายเดือนสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส และจำนวนฝนรายปีสูงกว่าจำนวนน้ำระเหย และจะมีอากาศแห้งแล้งในฤดูหนาว โดยจะมีฤดูกาลที่เห็นอย่างชัดเจน 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาวซึ่งมีความแตกต่างของฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด


      ฤดูร้อน : เริ่มในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
      ฤดูฝน : เริ่มในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม
      ฤดูหนาว : เริ่มในช่วงกลางเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์



แผนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน



ข้อมูลทั่วไป

  ทิศเหนือ           ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่าด้านรัฐฉานตอนใต้รัฐคะยาบางส่วนโดยมีแม่น้ำ
                           สาละวิน  แม่น้ำเมย เป็นแนวพรมแดน
  ทิศตะวันออก
   ติดต่อกับ  อำเภอเวียงแหง อำเภอแม่แตง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอฮอด และอำเภออมก๋อย  
                                 จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเทือกเขาถนนธงชัยกลาง และเทือกเขาถนนธงชัย
                                  ตะวันออก
 เป็นแนวเขต
  ทิศใต้                ติดต่อกับ  อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก โดยมีแม่น้ำยวมและแม่น้ำเงาเป็นแนวเขต
  ทิศตะวันตก
      ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่า ด้านรัฐคะยาและรัฐคอทูเล โดยมีเทือกเขาถนนธงชัย 
                              ตะวันตก แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำเมย เป็นแนวพรมแดน

การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ

   - อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
   - อำเภอขุนยวม
   - อำเภอปาย
   - อำเภอแม่สะเรียง
   - อำเภอแม่ลาน้อย
   - อำเภอสบเมย
   - อำเภอปางมะผ้า

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สัญลักษณ์ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน

      ตราประจำจังหวัด




           “รูปช้างในท้องน้ำ  หมายถึง การฝึกช้างป่าให้รู้จักการบังคับบัญชาในการรบและงานด้านต่าง ๆ สาเหตุที่ใช้รูปช้างในท้องน้ำเป็นตราประจำจังหวัดนั้นก็เพราะเป็นที่มาของการตั้งเมืองแม่ฮ่องสอน โดยเริ่มจากการที่เจ้าแก้วเมืองมาออกจับช้างให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2368-2389) และได้รวบรวมชายไทยใหญ่ให้มาตั้งบ้านเมืองเป็นหลักแหล่งขึ้น 2 แห่ง มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครอง คือ ที่บ้านปางหมู และบ้านแม่ฮ่องสอน สาเหตุที่เรียกว่าแม่ฮ่องสอนก็เพราะว่าได้มาตั้งคอกฝึกช้าง ณ บริเวณลำห้วยแห่งนี้นั่นเอง


        พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดแม่ฮ่องสอน

 


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia brandisiana Kurz
วงศ์ : LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
ชื่ออื่น : จั่น ปี๊จั่น
ไม้ต้น : ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8 - 20 เมตร เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป 
ใบ : ประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7 - 21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1 - 3 เซนติเมตร ยาว 3 - 7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบบาง   
ดอก : รูปออกถั่ว สีขาวปนม่วง ออกตามกิ่งและง่ามใบ 
ผล : เป็นฝักแบน โคนแคบกว่าปลาย กว้าง 2 - 2.5 เซนติเมตร ยาว 9 - 12 เซนติเมตร เปลือกเกลี้ยงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบเป็นสัน เมล็ดสีน้ำตาลดำ 1 - 4 เมล็ด

ประวัติจังหวัดแม่ฮ่องสอน

คำขวัญประจำจังหวัด

" หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง "





ประวัติความเป็นมาของเมืองแม่ฮ่องสอน



              แต่เดิมนั้นบริเวณที่ตั้งเมือง แม่ฮ่องสอนปัจจุบันนี้ เป็นเพียงสถานที่ที่มีผู้คนมาปลูกกระท่อมอาศัยอยู่ บริเวณที่ราบริมเชิงเขา เป็นทำเลขที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกมาก ผู้คนที่อาศัยตามที่ราบมักจะเป็นชาวไทใหญ่ ส่วนผู้คนที่อาศัยอยู่บนดอยมักจะเป็นกะเหรี่ยง ละวะ และมูเซอ บริเวณนี้อยู่ห่างจากแม่น้ำคง (แม่น้ำสาละวิน) ประมาณ 40 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดกับรัฐฉาน ประเทศพม่า ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2374 สมัยเจ้าหลวงพุทธวงศ์ เป็นพระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และต้องการช้างป่าไว้ใช้งาน จึงให้เจ้าแก้วเมืองมา ซึ่งเป็นญาติพร้อมด้วยกำลังช้างต่อหมอควาญออกเดินทางไปสำรวจและไล่จับช้าง ป่ามาฝึกใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมาจึงยกกระบวนเดินทางรอนแรมจากเชียงใหม่ผ่านไปทางเมืองปาย ใช้เวลาหลายคืนจนบรรลุถึงป่าแห่งหนึ่ง ทางทิศใต้ริมฝั่งแม่น้ำปาย เป็นป่าดงว่างเปล่าและเป็นดินโป่งที่มีหมูป่าลงมากินโป่งชุกชุม เจ้าแก้วเมืองมาพิจารณาเห็นว่า ที่แถวนี้เป็นทำเลที่ดี น้ำท่าบริบูรณ์สมควรที่จะตั้งเป็นหมู่บ้าน จึงหยุดพักอยู่ ณ ที่นี้ และเรียกผู้คนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมห้วย ริมเขาซึ่งเป็นชาวไทใหญ่ และกะเหรี่ยง (ยางแดง) มาประชุม ชี้แจงให้ทราบถึงความคิดที่จะตั้งบริเวณนี้ขึ้นเป็นหมู่บ้าน และบุกเบิกที่ดินที่เป็นไร่นาที่ทำมาหากินต่อไป และเจ้าแก้วเมืองมาแต่งตั้งให้ชาวไทใหญ่ผู้หนึ่งซึ่งเป็นคนเฉลียวฉลาดและมี ความรู้ดีกว่าคนอื่นในหมู่บ้าน ชื่อว่า  พะกาหม่อง  ให้เป็น  ก๊าง ” ( คือตำแหน่งนายบ้านหรือผู้ใหญ่บ้าน) มีหน้าที่คอยควบคุมดูแล และให้คำแนะนำพวกลูกบ้านใน การดำเนินการต่อไป พะกาหม่องได้เป็นผู้ชักชวนเกลี้ยกล่อมพวกที่อยู่ใกล้เคียง ให้ย้ายมาอยู่รวมกัน แล้วตั้งชื่อหมู่บ้านนั้นว่า บ้านโป่งหมู โดยถือเอาว่าที่โป่งนั้น มีหมูป่าลงมากินโป่งมากนั่นเอง ปัจจุบันหมู่บ้านนี้ เรียกว่า บ้านปางหมู อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 6 กิโลเมตร